หน้าหลัก

ผลจากความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสังคม ทำให้ในช่วงหลายปีมานี้ โรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยเพิ่มมากขึ้น คนสมัยนี้มีแรงกดดันสูง การตกอยู่ในภาวะเครียดและวิตกกังวลเป็นระยะเวลานาน มักนำไปสู่การดื่มกินที่ไม่บันยะบันยัง ไม่ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล นอกจากการดื่มกินและความเครียด การนอนดึก สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ อ้วนเกิน โรคสามสูง (ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง) และการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของสุขภาพหลอดเลือด จึงต้องบ่มเพาะการใช้ชีวิตที่ถูกสุขลักษณะเท่านั้น จึงจะห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้โรคหัวใจและหลอดเลือดมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ทำให้รับมือไม่ทัน เนื่องจากหลอดเลือดไม่มีเส้นประสาท เว้นแต่ว่ามันจะทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายขาดออกซิเจนจึงจะปรากฏอาการ ดังนั้น การจะวินิจฉัยว่าหลอดเลือดในอวัยวะภายในเป็นโรคหรือไม่จึงทำได้ค่อนข้างยาก กอปรกับสถานการณ์โรคและการเสียชีวิตของประชากรด้วยโรคหัวใจของไต้หวันกับไทยนั้นแทบจะอยู่ในระดับเดียวกัน อีกทั้งวัฒนธรรมการกินและใช้ชีวิตก็ใกล้เคียงกัน ดังนั้น คำแนะนำและความรู้จากคุณหมอชาวไต้หวัน จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชาวไทยได้การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ในหนังสือเล่มนี้จึงได้วิเคราะห์สิ่งที่ควรสังเกตและระวัง โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต ด้านอาหารการกิน และด้านการออกกำลังกาย โดยผู้เขียนมีความหวังว่าจะทำให้ผู้อ่านให้ความสำคัญกับสุขภาพของหลอดเลือด ตระหนักว่าในชีวิตประจำวันมีสิ่งใดบ้างที่เป็น "พฤติกรรมไม่ดี ที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต" และเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันนี้เพื่อการป้องกันก่อนจะเกิดโรค

วันที่เผยแพร่ : 23/11/2021
สำนักพิมพ์ : ฟรีมายด์
หมวดหมู่ : -
จำนวนหน้า : 160 หน้า หน้า
245 - Title statement
020 - International standard book number
100 - Main entry--personal name
250 - Edition statement
260 - Publication, distribution, etc. (imprint)
300 - Physical description
650 - Subject added entry--topical term
520 - Description
082 - dewclass
852 - dewsuffix
050 - Publish Year
350 - Price
400 - Tracing
041 - Language

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ