ในการพิมพ์ครั้งที่สองนี้ มิได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและเนื้อหาเดิมจากการพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง เว้นแต่การแก้ไขคำผิดที่เกิดจากการพิมพ์ของผู้เขียนรวมทั้งเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ตามสถานการณ์เช่น วินิจฉัยประเด็นสำคัญของกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ระดับรัฐบาลกลาง (CFAA) กล่าวคือ องค์ประกอบ "เข้าถึงเกินขอบอำนาจ" ซึ่งคำพิพากษานี้อาจวิเคราะห์ได้ว่าส่งผล จำกัดขอบเขตการบังคับใช้และตีความกฎหมายของฝ่ายบริหารให้แคบลง นับเป็นบทเรียน ที่สำคัญของการตีความองค์ประกอบความผิดอาญาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มิให้กว้างเกินไป จนสามารถนำไปบังคับใช้กับพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไปของประชาชน ผู้เขียนจึง นำมาเพิ่มเติมและเปรียบเทียบกับฐานความผิดเข้าถึงโดยมิชอบตามกฎหมายไทยด้วย - เพิ่มเติมกรณีศึกษาเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่กระทบต่อความปลอดภัย ทางสารสนเทศและเชื่อมโยงกับผลกระทบต่อความปลอดภัยทางกายภาพ เช่น การโจมตี ระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการส่งน้ำมันในสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 และ การโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลในเยอรมันที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ ตัวอย่าง ดังกล่าวแสดงถึงผลกระทบของการโจมตีแบบ "Ransomware" ต่อแนวปฏิบัติในการเชื่อมโยง การผลิตและบริการเข้ากับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ซึ่งอาจกระทบวีถีชีวิตประชาชนอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ภัยคุกคามต่อระบบคอม- พิวเตอร์ยังมีแนวโน้มขยายตัวเพราะอาชญากรไซเบอร์อาจไม่จำต้องมีความเชี่ยวชาญในระดับ การเขียนชุดคำสั่งหรือสร้างโปรแกรมเอง เช่น แฮกเกอร์ผู้พัฒนา "Ransomware" ให้บริการ โปรแกรมดังกล่าวแก่อาชญากรทั่วไปโดยมีค่าบริการหรือคิดส่วนแบ่งจากเงินที่เรียกร้องมาได้ (Ransomware-as-a-Service) -เพิ่มเติมประเด็นการชั่งน้ำหนักระหว่างการกำหนดฐานความผิดต่อระบบและข้อมูล คอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันปราบปรามอาชญากรรมกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยยกตัวอย่าง กรณีนักกิจกรรมไซเบอร์ (Cyber-activist) -ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา (Van Buren v. United States)