หน้าหลัก

ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาวิธีการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ให้เข้าใจในเรื่องใดๆ ได้อย่างบูรณาการ ภายใต้มิติสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดีการคิดเชิงระบบ ถือเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถเห็นรูปแบบ และเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้เราสามารถเตรียมตัว และรับมือกับสิ่งนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงานเรื่องชีวิตส่วนตน สถานะการเงิน ตลอดจนความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆการคิดเชิงระบบ จะช่วยให้เราสามารถเผชิญกับปัญหาได้ดีขึ้น รวมทั้งยังเป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับตนเอง และผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเรามักจะได้ยินผู้รู้ทั้งหลายชี้แนะเวลาเราเผชิญปัญหาที่ยาก และต้องจัดการกับปัญหานั้นว่า ต้องมองปัญหาเชิงระบบ คิดให้เป็นระบบ จึงจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ . และเมื่อเราศึกษาในระดับอุดมศึกษา อาจารย์ก็จะบอกให้คิด-เขียน-นำเสนอเป็นระบบ ทั้งในการนำเสนอช่วงที่เรียน การเขียนรายงาน การทำวิทยานิพนธ์ปัญหาก็คือ คิดเชิงระบบ (System thinking) นั้นหมายความว่าอะไรเคยถามในชั้นเรียนหลายครั้งว่า แต่ละคนคิดถึงอะไร เวลาพูดถึง "ความคิดเชิงระบบ" . หลายคนที่ถูกถามทำหน้าทำตาเหลอหลา คือไม่รู้ว่าจะตอบว่าอย่างไร . ลองถามต่อ ถ้าเช่นนั้นคำว่า "ระบบ" หมายความว่าอะไร คราวนี้ก็ได้คำตอบบ้าง เช่น ระบบคือ".อะไรที่เป็นขั้นเป็นตอน เป็นระเบียบ."".อะไรที่เป็นเหตุเป็นผลกัน."".???????."แต่พอเอาความหมายของ ระบบ ข้างต้นไปบวกกับคำว่าความคิด ก็ทำให้มีปัญหาพอสมควรว่า ตกลงจะหมายความอะไร คิดอย่างเป็นขั้นตอนหรือ คิดอย่างเป็นระเบียบ หรือ คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล อันสุดท้ายดูจะเข้าท่ามากที่สุด คือเข้าใจง่าย แต่ใช่ความหมายของความคิดเชิงระบบหรือหนังสือแปลเล่มนี้ชื่อ "หัวใจนักคิด" มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Art of Systems Thinking" เขียนโดย Joseph OCornor และ Ian McDermott ลองอ่านดูจะพบคำตอบหลายประเด็นอาทิเช่น".ระบบหมายถึง องค์ประกอบหลายๆ ส่วนที่เชื่อมโยงกัน ทำงานร่วมกันหรือประสานกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง."".ความคิดเชิงระบบจึงหมายถึง การคิดในภาพรวม (big picture) โดยตระหนักชัดในองค์ประกอบย่อยที่มีความสัมพันธ์ และมีหน้าที่ที่เชื่อมโยงกัน."ในหนังสือเล่มนี้ยังได้กล่าวถึง ร่างกายคนเราในฐานะที่เป็นระบบๆ หนึ่ง และเป็นระบบที่มีความซับซ้อนยิ่ง (complex system) คือ ประกอบด้วยส่วนย่อยๆ มากมาย แต่ทำงานประสานเชื่อมโยงกัน หากส่วนใดมีปัญหา ก็จะสะท้อนออกมาด้วยการทำงานที่ผิดไป หรือมีปัญหาสุขภาวะนั่นเองดังนั้น ก่อนนำเสนอหรือเขียนอะไร- อาจเริ่มด้วยการนิ่งๆ สักครู่- แล้วประมวลคำสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเขียน เช่น งานที่เราทำในชุมชน แล้ว list เขียนเป็นคำสำคัญออกมา มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้- วางคำไว้ทั่วๆ บนหน้ากระดาษ- มองคำต่างๆ แล้วเรียงต่อกัน / ลากเส้นเชื่อมโยงกัน- เติมคำที่เป็นรายละเอียดในแต่ละส่วน- นิ่งอีกสักครู่ แล้วลองเขียนเป็นประโยคหรือวรรคทอง- อาจลองทำเป็นตาราง/ ไดอะแกรม หรือ Mind Map- บรรยายเพิ่มเติมเพื่อเสริมความเข้าใจ- อ่านสิ่งที่เขียน ใคร่ครวญตาม ปรับเขียนให้แจ่มชัดเหมือนฉายภาพออกมา- ให้คนใกล้ตัวลองอ่าน เสนอแนะ แล้วปรับแก้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านได้มากขึ้น

วันที่เผยแพร่ : 09/05/2018
สำนักพิมพ์ : เอ็กซ์เปอร์เน็ท
หมวดหมู่ : -
จำนวนหน้า : 317, [1] หน้า หน้า
245 - Title statement
020 - International standard book number
100 - Main entry--personal name
250 - Edition statement
260 - Publication, distribution, etc. (imprint)
300 - Physical description
650 - Subject added entry--topical term
520 - Description
082 - dewclass
852 - dewsuffix
050 - Publish Year
350 - Price
400 - Tracing
041 - Language

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ (Cookie) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ